Image

1.  สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

 

1. การลอกเลียนแบบ  เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตาม เช่น บรรดาพอร์ทัลไซต์ทั้งหลาย ซึ่งที่เห็นหลาย รายก็ทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนใดต่อยอดให้ดีขึ้นเลยก็มี ซึ่งความจริงแล้วการลอกเลียนแบบอาจจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้หลักการเดียวกันเท่านั้น หรือก็อาจจะใช้กับกลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้ หากกลุ่มเป้าหมายนั้นมีจำนวนมากพอ หรือมากขนาดที่ เว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถที่จะรองรับได้

   2. การอยู่กับความฝัน เป็นการอาศัยแนวความคิดแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง หรือทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ แนวคิดแรก ยังไม่ได้ทำให้เป็น จริงเลย ก็ไปทำแนวคิดที่สองแล้วเป็นอย่างนี้เรื่อยไป อย่างนี้ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ

  3. ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม  การทำเว็บไซต์ให้สวยงาม เน้นความเลิศหรู จนลืมแก่นแท้ของความต้องการผู้ใช้เว็บหรือกลุ่มเป้าหมายไป กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่กระบวนการที่จะให้บริการลูกค้าผู้ใช้เว็บอย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็วจึงเป็นสิ่ง   ที่สำคัญมาก ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก่อนที่จะไปตกแต่งโฮมเพจให้สวยงาม

  4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทางการทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้นึกถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้ เกิด คุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน หรือ synergy คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร (One-stop Service) มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง

   5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอการไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือเป็นประเภท ที่ได้แต่คิด แต่อาจจะไม่ได้มองว่า ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ

6. ทำงานได้ทีละอย่างการทำงานได้ทีละอย่าง กล่าวคือไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็น สำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บ ที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทาทำที่ละเรื่อง เมื่อเสร็จแล้วค่อย ทำอีก เรื่องนี้ จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามา โดยตลาดจากทุกมุมโลก

   7. คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย

 

2.  ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce .นประเทศไทยประสบความสำเร็จ น.ศ.คิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจัยใดบ้าง

 

1.มุ่งไปที่กระแสเงินสด กำไรเป็นเรื่องรอง

นักธุรกิจมักจะถูกสอนให้คิดในเรื่องของกำไรต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งจริงๆแล้วควรลองเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่และมุ่งสนใจไปที่กระแสเงินสดหมุนเวียนภายในบริษัทแทน อย่าลืมว่าต้องใช้เงินสดจ่ายบิล ถ้าเกิดมียอดเงินหมุนเวียนอยู่ภายในบริษัทตลอดและมีการจ่ายชำระหนี้ตรงตามเวลา พยายามให้มีการเรียกเก็บเงินระยะสั้นๆ ปิดยอดได้ไวๆ เมื่อนั้นก็จะได้ผลกำไรตอบแทนกลับมาเอง

2.ประมาณการความต้องการและกำลังผลิตอย่างต่ำ

ผู้ประกอบการต้องทำการประเมินแนวโน้มความต้องการของตลาดเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา จากนั้นจึงทำการกำหนดสัดส่วนความต้องการของธุรกิจบริษัท เช่น ถ้าบริษัทผลิตเกี่ยวกับเครื่องสำอางสตรีที่กลุ่มตลาดเป้าหมายที่ใช้เป็นประจำอยู่ที่ 1 ล้านคน ประมาณการส่วนแบ่งการตลาดขั้นต่ำที่ต้องการได้คือ 10% นั่นหมายถึง 100,000 คน แล้วนำมาคิดด้วยกำลังการผลิตขั้นต่ำของทางบริษัทว่าสามารถทำได้อย่างน้อยกี่ชิ้้นต่อวันแล้วนำไปหักลบกันให้เรียบร้อยเพื่อหากำลังการผลิตว่าสามารถตอบสนองได้หรือไม่นั่นเอง

3.วางแผนการทดสอบ

ผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องมีการทดสอบอย่างรอบด้าน ผู้ประกอบการควรออกแบบสร้างแผนทดสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองโดยเริ่มทดสอบในส่วนของคุณสมบัติส่วนตัวและแนวทางการจัดวางจำหน่ายเพื่อจะหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำตลาดและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะเลือกจากจุดเด่นที่ได้มาจากการทดสอบนำมาเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาก็ได้

4.ผลิตภัณฑ์สามารถพิสูจน์และยอมรับได้จริง

เป็นเรื่องสำคัญที่ผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคนั้น จะต้องสามารถพิสูจน์ได้จริงในเชิงประจักษ์โดยผ่านการทดสอบจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน นอกจากนี้การยอมรับจากสถาบันวิจัยสำคัญยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของผู้ประกอบการอีกด้วย

5.เริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจบริการ

ธุรกิจบริการจะมีข้อดีตรงที่สามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของข้อมูลข่าวสารอย่างมหาศาล โดยผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวพัฒนาออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ เช่น บริษัทที่ผลิตแชมพูสระผมบางส่วนก็มีที่มาจากการเป็นร้านให้บริการในเรื่องการตัดแต่งและสระผมมาก่อนด้วยกันทั้งนั้น

6.มุ่งเน้นไปที่ประโยชน์การใช้งานไม่ใช่รูปแบบ

ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าก็ต่อเมื่อมันสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาได้จริงๆไม่ใช่มองแค่รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นการมุ่งพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มตลาดเป้าหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอันจะทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำกลับคืนมาสู่ธุรกิจของบริษัทภายในเวลาอันรวดเร็ว

7.จัดหาพนักงานให้พอเพียง

บ่อยครั้งที่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากการทำธุรกิจค่อนข้างที่จะน่าผิดหวัง เพราะมีที่มาจากจำนวนพนักงานที่ไม่เพียงพอบวกกับไม่มีความรู้ความสามารถโดยตรงกับงานที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องจัดหาพนักงานที่มีความรู้ และมีจำนวนพนักงานที่เพียงพอสำหรับรองรับการทำงานที่พร้อมจะเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย

8.ใช้วิธีขายตรงเป็นตัวเบิกทาง

การขายตรงเป็นวิธีการค้าขายที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก ควรทดลองใช้วิธีดังกล่าวเป็นอันดับแรกในการทำตลาด เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริงถึงปัญหาของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากกระแสตอบรับของผู้บริโภคโดยตรง และยังเป็นการตัดขั้นตอนในส่วนของพ่อค้าคนกลางที่เรียกรับผลประโยชน์ออกไป จึงทำให้ผู้ประกอบการได้กำไรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การค้าขายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า E Commerce ก็เป็นวิธีการขายตรงรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอยู่มิใช่น้อยในปัจจุบัน

9.จัดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาด

ถ้าผู้ประกอบการสามารถจัดอันดับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเองได้นั่นจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับสถานะของตน เช่น ลูกค้าที่มีรายได้ต่างกันก็จะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาต่างกัน เป็นต้น ดังนั้นการจัดตำแหน่งผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสมควรจะต้องพึงกระทำเพราะจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ง่ายและในเวลาที่รวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง